ประวัติความเป็นมา
จากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมานั้น มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุรา ซึ่งมีบุตร 2 คน มีผิวเนื้อเหมือนทอง วันหนึ่งนักเลง สุรานั้นเข้าไปกล่าวคำหยาบคายต่อเศรษฐี เศรษฐีจึงถามว่าเหตุใดจึงมาหมิ่นประมาทต่อเราผู้มีสมบัติ มากนักเลงสุราจึงตอบว่า ถึงท่านมีสมบัติก็ไม่มีบุตร ตายแล้วสมบัติก็จะสูญเปล่า เรามีบุตรเห็นว่า ประเสริฐกว่า ท่านเศรษฐีมีความละอายใจจึงบวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งอธิษฐานขอบุตรถึง สามปีก็มิได้มีบุตรอยู่มาถึงวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีจึงพาบริวารไป ยังต้นไทรอันเป็นที่อยู่แห่งฝูงนกทั้งปวงริมฝั่งน้ำ จึงเอาข้าวสารล้างน้ำ 7 ครั้ง แล้วหุงขึ้นบูชาพระไทร ประโคมพิณพาทย์ตั้งอธิษฐานขอบุตร พระไทรมีความกรุณาจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ ธรรมบาลเทวบุตรลงมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดแล้วจึงให้ชื่อว่าธรรมบาลกุมาร ปลูก ปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งน้ำนั้น กุมารเจริญขึ้น ก็รู้ภาษานกแล้วเรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้ เจ็ดขวบได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง
ในขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม และกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคล แก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบจึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ สัญญาไว้ว่าถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า
ข้อ 1 เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ 2 เที่ยวราศีอยู่แห่งใด
ข้อ 3 ค่ำราศีอยู่แห่งใด
ธรรมบาลกุมารขอผลัด 7 วันเพื่อตอบปัญหา ครั้นล่วงไปได้หกวันธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้จึงนึกว่าพรุ่งนี้จะตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม ไม่ต้องการ จำจะหนีไปซุกซ่อนตายเสียดีกว่า จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล 2 ต้น มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้นเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามี บอกว่าจะกินศพธรรมบาลกุมารซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสียเพราะทายปัญหาไม่ออกนางนกถามว่าปัญหา นั้นอย่างไรสามีจึงบอกเล่าปัญหาให้เมียฟังนางนกถามว่าจะแก้อย่างไรสามีบอกว่าเช้าราศีอยู่ที่หน้ามนุษย์ จึงเอาน้ำล้างหน้าเวลาเที่ยงราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า ธรรมบาลกุมารได้ยินดังนั้นก็กลับไปปราสาท วันรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง 7 อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกันแล้ว บอกว่าเราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าตั้งไว้บนแผ่นดิน ไฟจะไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งขึ้นบน อากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้ง 7 นั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะ ส่งให้ธิดาองค์ใหญ่นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้ แล้วแห่ทำประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่าง ๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตร แล้วด้วยแก้วเจ็ดประการ ชื่อภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมูลาดลงมาล้างในสระ อโนดาตเจ็ดครั้งแล้ว แจกกันสังเวยทุก ๆองค์ ครั้นถึงครบกำหนด 365 วันโลกสมมุติว่าปีหนึ่งเป็นสงกรานต์ นางเทพธิดาเจ็ดองค์จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี ธิดาทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม ซึ่งเราสมมุติเรียกว่านางสงกรานต์นั้น มีชื่อต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า ทุงษ
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า โคราด
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์มีชื่อว่า รากษส
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มัณฑา
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิริณี
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า กิมิทา
ถ้าปีใดวันสงกรานต์ ตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์มีชื่อว่า มโหทร
– 13 เมษายน วันมหาสงกรานต์
– 14 เมษายน วันเถลิงศก
– 15 เมษายน วันเนา
ประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้น โดยปกติจะถือเอาช่วงวันที่ 13-14 เมษายน ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลา ของเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม กำหนดช่วงเวลาสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไปบ้างขึ้น อยู่กับประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา
ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนาดังนี้
คุณค่าต่อต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญู
กตเวทิตาเช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย
สงกรานต์ กะละแม ลอกช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้ง
แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม/ของกินให้แก่กันและกัน
ร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน
คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื่ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการ
ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ
คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระ การปฏิบัติ
ธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ